จปคืออะไร สถานประกอบการ บริษัทต้องมีจป.อะไร ตามกฎกระทรวง2565- เซฟตี้อินไทย
อบรมหลักสูตรฟรี 2567          คลิกที่นี่

บทความ

จปคืออะไร สถานประกอบการ บริษัทต้องมีจป.อะไร ตามกฎกระทรวง2565



จปคืออะไร


จป.คืออะไร คือ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน

เป็นบุคลากรทางด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยที่กฎหมายกำหนด


จป. ย่อมาจาก "เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน" เป็นบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากนายจ้างให้ทำหน้าที่หลักในการป้องกันอุบัติเหตุ เตรียมพร้อมต่อสถานการณ์ฉุกเฉินต่างๆในองค์กร ดูแลทุกกิจกรรมการทำงานของบริษัทเกิดความปลอดภัย เป็นบุคคลที่มีความชำนาญในการให้คำแนะนำปรึกษาในด้านต่างๆ แก่ผู้ที่เกี่ยวข้องในบริษัทให้สามารถปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง


จปคืออะไร


ยกเลิก ตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 กำหนดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน  5 ระดับ คือ


  จปคืออะไร

           

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 มีการกำหนดเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน 5 ระดับ คือ

1. เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร

2. เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน

3. เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิค

4. เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับเทคนิคขั้นสูง

5. เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ


ยกเลิก กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 ใช้บังคับแก่กิจการหรือสถานประกอบกิจการ ดังต่อไปนี้ 

จปคืออะไร


            (1) การทำเหมืองแร่ เหมืองหิน กิจการปิโตรเลียมหรือปิโตรเคมี

            (2) การทำ ผลิต ประกอบ บรรจุ ซ่อม ซ่อมบำรุง เก็บรักษา ปรับปรุง ตกแต่ง เสริมแต่ง ดัดแปลง แปรสภาพ ทำให้เสียหรือทำลายซึ่งวัตถุหรือทรัพย์สินรวมทั้งการต่อเรือ การให้กำเนิด แปลง และจ่ายไฟฟ้าหรือพลังงานอย่างอื่น

            (3) การก่อสร้าง ต่อเติม ติดตั้ง ซ่อม ซ่อมบำรุง ดัดแปลง หรือรื้อถอนอาคาร สนามบินทางรถไฟ ทางรถราง ทางรถใต้ดิน ท่าเรือ อู่เรือ สะพานเทียบเรือ ทางน้ำ ถนน เขื่อน อุโมงค์ สะพาน ท่อระบาย ท่อน้ำ โทรเลข โทรศัพท์ ไฟฟ้า ก๊าซหรือประปา หรือสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ รวม ทั้งการเตรียมหรือวางรากฐานของการก่อสร้าง

            (4) การขนส่งคนโดยสารหรือสินค้าโดยทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ และรวมทั้งการบรรทุกขนถ่ายสินค้า

            (5) สถานีบริการหรือจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิงหรือก๊าซ

            (6) โรงแรม

            (7) ห้างสรรพสินค้า

            (8) สถานพยาบาล

            (9) สถาบันทางการเงิน

            (10) สถานตรวจทดสอบทางกายภาพ

            (11) สถานบริการบันเทิง นันทนาการ หรือการกีฬา

            (12) สถานปฏิบัติการทางเคมีหรือชีวภาพ

            (13) สำนักงานที่ปฏิบัติงานสนับสนุนสถานประกอบกิจการตาม (1) ถึง (12)

            (14) กิจการอื่นตามที่กระทรวงแรงงานประกาศกำหนด

จปคืออะไร


 

การแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับต่าง ๆ และ หน่วยงานความปลอดภัย ตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 ดังต่อไปนี้


จปคืออะไร






กฎกระทรวง การจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคล เพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ.2565

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๕ วรรคหนี่ง และมาตรา ๑๓ แห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. ๒๕๕๔ รัฐนตรีว่าการกระทรวงแรงงานออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ ๑ กฏกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหกสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป

ข้อ ๒ ให้ยกเลิกกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. ๒๕๔๙

ข้อ ๓ ในกฎกระทรวงนี้

"กรรมการความปลอดภัย "หมายความว่า กรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ

"คณะกรรมการความปลอดภัย " หมายความว่า คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ

"ผู้แทนนายจ้างระดับบริหาร" หมายความว่า ลูกจ้างซึ่งเป็นผู้บริหารซึ่งมีหน้าที่และอำนาจทำการแทนนายจ้างในการจ้าง การเลิกจ้าง การให้บำเหน็จ การลงโทษ หรือการวินิจฉัยข้อร้องทุกข์และได้รับมอบหมายเป็หนังสือให้ป็นผู้แทนนายจ้างระดับบริหารเพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎกระทรวงนี้

"หน่วยงานความปลอดภัย " หมายความว่า หน่วยงานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน



ความสำคัญของ กฎกระทรวง การจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคล เพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ.2565


กฎกระทรวงว่าด้วยการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคล เพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2565 มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสถานประกอบกิจการทุกแห่งที่มีลูกจ้างทำงานตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป เนื่องจากกฎกระทรวงนี้กำหนดให้นายจ้างต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานหรือบุคลากรด้านความปลอดภัยในการทำงานอย่างเพียงพอและเหมาะสมกับจำนวนลูกจ้างและประเภทของสถานประกอบกิจการ เพื่อให้สถานประกอบกิจการมีความปลอดภัยในการทำงาน และคุ้มครองลูกจ้างจากอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน

เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานหรือบุคลากรด้านความปลอดภัยในการทำงานมีหน้าที่หลักในการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน ดังนี้


  • ตรวจสอบและเสนอแนะให้นายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
  • วิเคราะห์งานเพื่อชี้บ่งอันตรายและกำหนดมาตรการป้องกันและขั้นตอนการปฏิบัติงานอย่างปลอดภัยเสนอต่อนายจ้าง
  • แนะนำให้ลูกจ้างปฏิบัติตามคู่มือว่าด้วยความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ

นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานหรือบุคลากรด้านความปลอดภัยในการทำงานยังมีหน้าที่อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การให้คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตราย การจัดทำแผนป้องกันและบรรเทาอันตราย การจัดทำรายงานการเกิดอุบัติเหตุหรือโรคจากการทำงาน เป็นต้น


ดังนั้น การมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานหรือบุคลากรด้านความปลอดภัยในการทำงานอย่างเพียงพอและเหมาะสมจึงมีส่วนสำคัญในการลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุและโรคจากการทำงานในสถานประกอบกิจการ ซึ่งจะส่งผลดีต่อทั้งนายจ้าง ลูกจ้าง และบุคคลภายนอก

หมวด ๑
เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน 


ข้อ ๔ นายจ้างของสถานประกอบกิจการประเภทที่ระบุในบัญชีท้ายกฎกระทรวงนี้ ต้องจัด ให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน เว้นแต่เป็นสถานประกอบกิจการประเภทที่มีจำนวนลูกจ้าง ไม่ถึงเกณฑ์ที่ต้องจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานในสถานประกอบกิจการที่นายจ้างต้องจัดให้มี ตามวรรคหนึ่ง จะเป็นประเภทใดหรือระดับใด ให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในหมวดนี้

ข้อ ๕ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานมีสองประเภท ดังต่อไปนี้

(๑) เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานโดยตำแหน่ง

(๒) เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานโดยหน้าที่เฉพาะ

ส่วนที่ 1 เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานโดยตำแหน่ง

ข้อ ๖ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานโดยตำแหน่งมีสองระดับ ดังต่อไปนี้

(๑) เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน

(๒) เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับบริหาร

บัญชีท้ายกฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2565 สถานประกอบกิจการที่ต้องมี จป. ดังต่อไปนี้


บัญชี 1 สถานประกอบกิจการที่ต้องมีจป. 

จปคืออะไร

  1. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการทำเหมืองตามกฎหมายว่าด้วยแร่
  2. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับกิจการปิโตรเลียมตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม
  3. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับปิโตรเคมี
  4. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียม
  5. อุตสาหกรรมเกี่ยวกับการแยกก๊าซธรรมชาติ


บัญชี 2 สถานประกอบกิจการที่ต้องมีจป.

  1. อุตสาหกรรมสิ่งพิมพ์
  2. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหาร
  3. อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม
  4. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากยาสูบ
  5. อุตสาหกรรมสิ่งทอ
  6. อุตสาหกรรมเสื้อผ้าหรือเครื่องแต่งกาย
  7. อุตสาหกรรมเครื่องหนัง
  8. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์จากไม้
  9. อุตสาหกรรมกระดาษหรือผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากกระดาษ
  10. อุตสาหกรรมการผลิตสารเคมีหรือเคมีภัณฑ์
  11. อุตสาหกรรมเภสัชภัณฑ์หรือเวชภัณฑ์ทางการแพทย์
  12. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง
  13. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์พลาสติก
  14. อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ที่ทำจากแร่อโลหะ
  15. อุตสาหกรรมโลหะหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากโลหะ
  16. อุตสาหกรรมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
  17. อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า
  18. อุตสาหกรรมเครื่องจักรหรือเครื่องมือกล
  19. อุตสาหกรรมยานพาหนะ ชิ้นส่วนยานพาหนะ หรืออุปกรณ์เสริมสำหรับยานพาหนะ
  20. อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์
  21. อุตสาหกรรมเครื่องประดับ
  22. อุตสาหกรรมเครื่องดนตรี
  23. อุตสาหกรรมอุปกรณ์กีฬาออกกำลังกาย
  24. อุตสาหกรรมของเล่น
  25. อุตสาหกรรมเครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์
  26. อุตสาหกรรมการผลิต การจัดส่ง หรือการจ่ายไฟฟ้า
  27. อุตสาหกรรมการผลิตหรือการบรรจุก๊าซ
  28. อุตสาหกรรมการผลิตถ่านโค้ก
  29. อุตสาหกรรมการผลิต การเก็บ หรือการจำหน่ายไอน้ำ
  30. อุตสาหกรรมการเลี้ยงสัตว์หรือการเพาะปลูก
  31. สถานีบริการตามกฎหมายว่าด้วยการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง
  32. คลังน้ำมันเชื้อเพลิงตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง
  33. การให้บริการบำบัดน้ำเสียหรือกำจัดของเสียตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
  34. อุตสาหกรรมการนำวัสดุที่ใช้แล้วกลับมาใช้ใหม่
  35. อุตสาหกรรมการแต่งแร่ การขุดแร่รายย่อย หรือการร่อนแร่ตามกฎหมายว่าด้วยแร่
  36. การก่อสร้าง การดัดแปลง การซ่อมแซม หรือการรื้อถอนอาคารตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร
  37. อุตสาหกรรมการขนส่ง
  38. การบริการการเดินอากาศตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศ
  39. กิจการคลังสินค้า กิจการไซโล หรือกิจการห้องเย็นตามกฎหมายว่าด้วยคลังสินค้า ไซโล และห้องเย็น
  40. กิจการโทรคมนาคมตามกฎหมายว่าด้วยองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม
  41. การติดตั้ง การซ่อม หรือการซ่อมบำรุงเครื่องจักร
  42. โรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม
  43. กิจการนิติบุคคลอาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด
  44. ห้างสรรพสินค้า ธุรกิจค้าปลีก หรือธุรกิจค้าส่ง
  45. ศูนย์การจัดประชุมและการแสดงสินค้า
  46. โรงพยาบาล
  47. การทดสอบและวิเคราะห์การปฏิบัติการทางกายภาพ เคมี ชีวภาพ หรือวิศวกรรม
  48. การขายและการบำรุงรักษายานยนต์หรือการซ่อมยานยนต์
  49. สวนสัตว์หรือสวนสนุก

จปคืออะไร

จปคืออะไร

จปคืออะไร

จปคืออะไร 

จปคืออะไร 

จปคืออะไร


    บัญชี 3 สถานประกอบกิจการที่ต้องมีจป. จปคืออะไร


      1. ธุรกิจสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยธุรกิจสถาบันการเงิน
      2. ธุรกิจหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
      3. สหกรณ์ตามกฎหมายว่าด้วยสหกรณ์
      4. การประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิตหรือการประกันวินาศภัยตามกฎหมายว่าด้วยการประกันวินาศภัย
      5. โรงรับจำนำตามกฎหมายว่าด้วยโรงรับจำนำ
      6. โรงถ่ายทำภาพยนต์หรือละค
      7. สวนพฤกษศาสตร์
      8. สนามกีฬาหรือการนันทนาการ
      9. สถานที่มีอาหาร สุรา หรือเครื่องดื่มอย่างอื่นจำหน่าย โดยจัดให้มีการแสดงดนตรีหรือการแสดงอื่นใดเพื่อการบันเทิง
      10. สำนักงานบริหารของสถานประกอบกิจการตามบัญชี 1 และบัญชี 2


        ประเภท สปก.และจำนวนลูกจ้างที่ต้องจัดให้มี จป./คปอ.หน่วยงานความปลอดภัย ตามกฎกระทรวง

        การจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานฯ 2565

           

        จปคืออะไรจปคืออะไร



        หมายเหตุ ประเภท สปก.และจำนวนลูกจ้างที่ต้องจัดให้มี จป./คปอ.หน่วยงานความปลอดภัย ตามกฎกระทรวง

        การจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานฯ 2565

        1. นายจ้างต้องแต่งตั้ง จป.โดยตำแหน่งภายใน 120 วันนับตั้งแต่วันที่มีลูกจ้างครบจำนวณดังกล่าว หรือนับตั้งแต่ได้รับการแต่งตั้งเป็นลูกจ้างระดับหัวหน้างาน หรือลูกจ้างระดับบริหาร
        2. นายจ้างต้องแต่งตั้ง จป.โดยหน้าที่เฉพาะภายใน 180 วันนับตั้งแต่วันที่มีลูกจ้างครบจำนวนดังกล่าว
        3. กรณี จป. โดยหน้าที่เฉพาะพ้นจากหน้าที่จัดให้มี จป. ดังกล่าวแทนภายใน 90 วัน
        4. ผู้บริหารหน่วยงานฯ ต้องผ่านการฝึกอบรมและต้องไม่เป็น จป.วิชาชีพ กรณีแต่งตั้ง จป.วิชาชีพ เป็นผู้บริหารหน่วย ไม่ต้องผ่านการอบรม
        5. กรณีผู้บริหารหน่วยงานพ้นจากหน้าที่ ให้จัดให้มีผู้บริหารหน่วยแทนภายใน 90 วัน
        6. นายจ้างยื่นขึ้นทะเบียน จป. โดยหน้าที่เฉพาะ จป.โดยตำแหน่ง และผู้บริหารหน่วยภายใน 30 วันนับแต่วันที่แต่งตั้ง
        7. กรณีจป.โดยหน้าที่เฉพาะ จป.โดยตำแหน่งหรือผู้บริหารหน่วยงานความปลอดภัยพ้นจากตำแหน่ง นายจ้างแจ้งภายใน 30 วันหรือบุคคลดังกล่าวใช้สิทธิแจ้งก็ได้
        8. คปอ.ต้องจัดให้มีภายใน 30 วันนับตั้งแต่ว้นที่มีลูกจ้างครบจำนวนดังกล่าวและจัดให้มี การอบรม คปอ. ภายใน 60 วัน
        9. เมื่อแต่งตั้ง คปอ. ให้ส่งสำเนาคำสั่งแต่งตั้งยี่นต่ออธิบดี ภายใน 15 วัน
        10. นายจ้างส่งรายงานการดำเนินงานของ จป. โดยหน้าที่เฉพาะ 2 ครั้ง ครั้งแรกใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ 30 มิ.ย. ครั้งที่ 2 ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ 31 ธ.ค



        การแต่งตั้งคปอ. ตามกฎกระทรวงการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานฯ 2565

        การแต่งตั้งคปอ.


        คำแนะนำสำหรับนายจ้าง สิ่งที่ท่านควรทราบ


        หากนายจ้างไม่ปฏิบัติตาม กฎกระทรวงว่าด้วยการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคล เพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2565 อาจได้รับโทษตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 ดังนี้

        • มาตรา 49 ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรา 13 (จัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคลเพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในการทำงาน) ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ.
        • นอกจากนี้ หากนายจ้างไม่ปฏิบัติตามกฎกระทรวงนี้ อาจส่งผลให้สถานประกอบกิจการมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุและโรคจากการทำงานมากขึ้น ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของลูกจ้างและบุคคลภายนอกได้


        ดังนั้น นายจ้างจึงควรให้ความสำคัญกับการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานหรือบุคลากรด้านความปลอดภัยในการทำงานอย่างเพียงพอและเหมาะสมกับจำนวนลูกจ้างและประเภทของสถานประกอบกิจการ เพื่อให้สถานประกอบกิจการมีความปลอดภัยในการทำงาน และคุ้มครองลูกจ้างจากอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน


        สรุปได้ว่า กฎกระทรวงว่าด้วยการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน บุคลากร หน่วยงาน หรือคณะบุคคล เพื่อดำเนินการด้านความปลอดภัยในสถานประกอบกิจการ พ.ศ. 2565 มุ่งเน้นให้นายจ้างให้ความสำคัญกับการจัดให้มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานหรือบุคลากรด้านความปลอดภัยในการทำงานอย่างเพียงพอและเหมาะสมกับจำนวนลูกจ้างและประเภทของสถานประกอบกิจการ เพื่อให้สถานประกอบกิจการมีความปลอดภัยในการทำงาน และคุ้มครองลูกจ้างจากอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน

        อบรมจป.กับเซฟตี้อินไทย
        อบรมจป.กับเซฟตี้อินไทย ในราคาสุดคุ้ม! โปรโมชั่นลดสูงสุด 30% เฉพาะเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน 2567 จองอบรมตอนนี้

        Comments


        businessman

        โปรโมชัน
        อบรมจป.กับเซฟตี้อินไทย

        อบรมจป.กับเซฟตี้อินไทย ในราคาสุดคุ้ม! โปรโมชั่นลดสูงสุด 30% เฉพาะเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน 2567

        บทความล่าสุด
        อัปเดตวิธีการวัดระดับเสียงการรบกวน2567 จากกรมโรงงานอุตสาหกรรม

        อัปเดต! วิธีการวัดระดับเสียงการรบกวน2567 จากกรมโรงงานอุตสาหกรรม

        ประกาศจากกรมสวัสดิการล่าสุด

        ประกาศจาก กสร. เรื่องการเทียบเท่าวุฒิไม่ต่ำกว่า ป.ตรี อาชีวอนามัยและความปลอดภัย

        ประกาศกสร.หลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการฝึกอบรมผู้บริหารหัวหน้างานและลูกจ้าง ฉ.2

        ประกาศกสร.หลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการฝึกอบรมผู้บริหารหัวหน้างานและลูกจ้าง ฉ.2

        บทความยอดนิยม
        อุบัติเหตุและอันตรายจากการทำงาน,อันตรายจากการทํางาน มีอะไรบ้าง,สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุภายในที่ทำงาน,สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุบัติเหตุภายในที่ทำงาน,

        สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุภายในที่ทำงาน

        กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับระบบการจัดการด้านความปลอดภัย พ.ศ. 2565

        กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับระบบการจัดการด้านความปลอดภัย พ.ศ. 2565

        กฎกระทรวงเกี่ยวกับรถยก รถโฟล์คลิฟท์ forklift 2564

        นายจ้างต้องรู้! กฎกระทรวงเกี่ยวกับรถยก 2564

        แบ่งปัน
        ติดต่อสอบถามคลิกไลน์ Safety In Thai ติดต่อสอบถามคลิกไลน์ Safety In Thai ติดต่อสอบถามคลิกไลน์ Safety In Thai